วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


ด้านการเมืองและปกครอง

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พ.ศ. 2325 - 2435
สภาพทางการเมืองยังคงรูปแบบของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รูปแบบของสถาบัน กษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม
พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง การปกครองและการบริหารประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย


เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมือง ทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง แบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร

นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น ตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง
การปกครองในประเทศราช ใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น ได้แก่ การนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรม และ ให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม เช่น การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น เป็นต้น
มูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. มูลเหตุภายใน
- ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น
- การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
- การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง
2. มูลเหตุภายนอก
- หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคม




ด้านเศรษฐกิจ
ลักษณะเศรษฐกิจ
ประชากรมีอาชีพเกษตรกรรม แต่รายได้มาจากการเก็บภาษี และการค้าขายกับต่างประเทศรายได้ทั้งหมด
นำไปใช้ในการทำสงครามและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
การเก็บภาษี มี 2 ประเภทคือ ภาษีที่เก็บจากประชาชน และภาษีที่เก็บจากการค้ากับต่างประเทศ
ภาษีที่เก็บจากประชาชน มี 4 ชนิดคือ จังกอบ ฤชา อากร ส่วย « « « «
จังกอบหรือจกอบเป็นค่าผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำที่เรียกว่าค่าปากเรือ คิดตามความกว้างของปากเรือ
ฤชา เป็นค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายให้ทางราชการเมื่อไปใช้บริการต่างๆเช่น การออกโฉนดที่ดิน
อากร เป็นภาษีที่เก็บจากการประกอบอาชีพของประชาชน และการให้สิทธิ์ในการประกอบการต่างๆ
• เช่นให้กลั่นสุรา หรือเปิดบ่อนการพนันต้องจ่ายเป็นอากรบ่อนเบี้ย การทำนา เก็บของป่า ทำสวน
ส่วย คือเงินหรือสิ่งของที่ส่งไปทดแทนแรงงานที่ไม่สามารถเข้าเวรรับราชการได้
หรือเรียกว่าเงินค่าราชการ รวมไปถึงเครื่องราชบรรณาการที่เมืองขึ้นส่งมาถวายกษัตริย์ไทยด้วย
ภาษีที่เก็บจากการค้ากับต่างประเทศ ประกอบด้วย
ภาษีเบิกร่อง หรือค่าปากเรือซึ่งเก็บในอัตรา 10 ต่อ 1
ภาษีสินค้าขาเข้าเก็บร้อยละ 3
ภาษีสินค้าขาออกเก็บตามชนิดของสินค้า
เงินตราที่ใช้ ใช้เงินพดด้วง มีลักษณะเป็นเงินก้อนกลมปลายทั้งสองงอเข้าด้วยกัน มีตราประจำรัชกาลประทับ คือ
– รัชกาลที่ 1 ตรา อุณาโลมกับจักร
– รัชกาลที่ 2 ตราจักรกับครุฑ
– รัชกาลที่ 3 ตราปราสาทกับจักร
– รัชกาลที่ 4 มีการใช้เงินเหรียญกษาปณ์ แทน


ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 – 3
ด้านสังคม มีลักษณะเช่นเดียวกับอยุธยา คือ เป็นสังคมที่มีชนชั้นที่มีพระมหากษัตริย์ ขุนนางข้าราชการ
พระสงฆ์ ไพร่ ทาส มีการเลื่อนชั้นทางสังคม เป็นสังคมเกษตรกรรม มีคนจีนเป็นพ่อค้าคนกลาง ครอบครัวมีขนาดใหญ่
ยึดถือผู้อาวุโส นิยมให้ลูกรับราชการ มีการยึดมั่นในอุดมการณ์ของชาวไทย คือพยายามรักษาแบบแผนความเป็นอยู่
ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาให้มีต่อไปในสังคมไทย
ด้านวัฒนธรรม มีการฟื้นฟูประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีหลวงจัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
(ดื่มน้ำสาบานของข้าราชการ) พิธีวันวิสาขบูชา พระราชพิธี โสกันต์ ส่วนประเพณีราษฎร์ เช่น การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา
การทอดผ้าป่า การโกนจุก การตักบาตรเทโว การแต่งงาน
ด้านการศึกษา มีการพัฒนาจากเดิมศูนย์กลางการศึกษาอยู่ที่วัดและวัง ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการตั้งโรงเรียน
เพื่อจัดการศึกษาแผนใหม่โดยมิชชันนารี( หมอสอนศาสนาคริสต์) ชาวสหรัฐอเมริกาคือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน
ซึ่งเป็นโรงเรียนของเอกชนปัจจุบันคือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
ด้านศาสนา มีการพัฒนาโดยการทำสังคายนาพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการสร้างวัดพระแก้ว
ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีการตั้งโรงทาน สังคายนาบทสวดมนต์ ส่งสมณทูตไปลังกา มีพิธีวันวิสาขบูชา
มาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นสมัยที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก ถือว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนา มีการสร้าง
วัดพระเชตุพนให้เป็นที่รวมของความรู้มีการแบ่งศาสนพิธีของศาสนาพุทธนิกายหินยานออกเป็นมหานิกายและธรรมยุกตินิกาย
อยากรู้ให้ลองสังเกตุพระสงฆ์วัดโพธารามและวัดหงสารามแล้วนักเรียนก็จะบอกความแตกต่างได้
ด้านวรรณกรรม มีวรรณคดีเกิดขึ้นคือเรื่อง รามเกียรติ์ ราชาธิราช สามก๊ก อิเหนา พระอภัยมณี
ส่วนกวีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือสุนทรภู่ รวมทั้งองค์รัชกาลที่2 ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น